วันที่ 1 ความเข้าใจในกฎหมายบัญชีและการบันทึกบัญชีและแบบภาษีต่างๆ จนออกงบทดลอง 1เดือน การสร้างความเข้าใจถึงสมการบัญชี วงจรบัญชี การบันทึกบัญชี ผ่านแยกประเภท และออกงบทดลอง เพื่อออกงบการเงินต่อไป พื้นฐานการบันทึกบัญชีเบื้องต้น และกฎหมาย ตาม พรบ.การบัญชี 2543 ที่เกี่ยวข้องกับผู้ทำบัญชีควรทราบ พื้นฐานในการวางระบบบัญชีที่ควรทราบ ผังบัญชี การจัดหมวดหมู่ เอกสารทางบัญชีให้สอดคล้องมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่ (ธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ) ความสำคัญการจัดทำสมุดรายวันเฉพาะหลักการจัดเตรียม Voucher (ใบสำคัญต่างๆ) และทะเบียนต่างๆ เพื่อให้เกิดการควบคุมภายใน พื้นฐานการวิเคราะห์ประเภทธุรกิจ เพื่อให้ทราบถึงระบบบัญชีและภาษี ความแตกต่างระหว่างกำไร(ขาดทุน)ทางบัญชี และกำไร(ขาดทุน) ทางภาษี ความแตกต่างการบันทึกบัญชีสินค้าแบบ Periodic และแบบ Perpetual (เน้นการบันทึกบัญชีแบบ Periodic) การฝึกปฏิบัติ โดยการบันทึกบัญชีตามเอกสารใบสำคัญ จากเอกสารใบสำคัญตัวอย่าง (เอกสารจริง) ในการทำงาน 1 เดือน โดยเริ่มจากกิจการที่เปิดใหม่ ธุรกิจ ซื้อมาขายไป(เป็นการบันทึกบัญชีด้วยมือ) บันทึกบัญชีลงสมุดรายวัน ต่างๆ (โดยสถาบันจะจัดเตรียมแบบฟอร์มไว้ให้) การคำนวณการหัก ณ ที่จ่าย ภงด.3 ,53 การจ่ายเงินเดือนพนักงาน แบบ ภงด. 1 ประกันสังคม บันทึกบัญชีการจ่ายเงินเดือน ทำการผ่านรายการจากสมุดรายวัน ไปแยกประเภท เก็บรายละเอียดจากแยกประเภท เพื่อออกงบทดลอง สำหรับเดือน มกราคม จัดทำรายงานภาษีซื้อ ขาย การกรอกแบบ ภพ.30 สรุป วันที่ 2 ฝึกปฏิบัติพร้อมอธิบายทฤษฎี :บันทึกบัญชีโดยโปรแกรม ถึงจัดทำยื่นภาษีกลางปี ภงด. 51 อธิบายการ Set up โปรแกรมสำเร็จรูปบัญชีโดยทั่วไป นำยอดในงบทดลองในวันที่ 1 บันทึกเป็นยอดยกมาในโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป บนคอมพิวเตอร์ และบันทึกบัญชีทั้งระบบ เพื่องบทดลองครึ่งปี จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุ/บัญชีสินค้า(สต็อกการ์ด) ครึ่งปี จัดทำทะเบียนสินทรัพย์ และคิดค่าเสื่อมราคา และรายงานมูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวด / การจัดทำงบต้นทุนขาย(ครึ่งปี) และออกงบทดลองครึ่งปี / หลักการจัดทำประมาณการกลางปี และการกรอก ภงด.51 การปรับปรุงบัญชี ตามมาตรา 67 ทวิ และ 67 ตรี (ครึ่งปี) / หลักการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีกลางปีตามมาตรา 65 ทวิ 65 ตรี / สรุป วันที่ 3 ฝึกปฏิบัติพร้อมอธิบายทฤษฎี : ออกงบการเงินประจำปี ปรับปรุงบัญชี คำนวณภาษี ภงด. 50 เน้นการบันทึกบัญชี ครึ่งปีหลังเพื่อให้เข้าใจการบันทึกบัญชีจริง(ในโปรแกรมสำเร็จรูป) / จัดทำรายงานสินค้าคงเหลือ(ปลายปี) ตัวอย่างรายงานการตรวจนับสินค้า จัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร / การจัดทำประมาณการหนี้สินผลประโยชน์พนักงานและการบันทึกบัญชี / บันทึกรายการปรับปรุงสิ้นปี / จัดทำรายละเอียดประกอบงบการเงินสิ้นปี /ออกงบทดลอง จัดทำกระดาษทำการรายการปิดบัญชีสิ้นปี / การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล (โดยมีเอกสารคำนวณประกอบ) นำไปใช้งานได้จริง การปรับปรุงกำไรทางบัญชีให้เป็น กำไรทางภาษี ตามมาตรา 65 ทวิ 65 ตรี(ภาคปฏิบัติ) / ออกงบการเงินตามรูปแบบมาตรฐาน ฉบับใหม่ (สำหรับธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ) / การจัดเตรียมเอกสารส่งผู้สอบบัญชี / วิธีการกรอก แบบ ภงด.50 อย่างถูกต้อง / หลักเกณฑ์ ระยะเวลา และวิธีการยื่นแบบ ภงด. 50 ต่อกรมสรรพากร วันที่ 4 หลักเกณฑ์ ระยะเวลา การยื่นแบบ สบช.3 และงบการเงินต่อกระทรวงพาณิชย์ หลักเกณฑ์ ระยะเวลา คำเตือน การยื่นแบบสบช.3 และงบการเงินต่อกระทรวงพาณิชย์ / ฝึกปฏิบัติ การกรอกแบบ สบช.3 จากงบการเงินในวันที่ 3 / การจัดทำ บอจ.5 ตัวอย่างจดหมายเชิญประชุม และรายงานประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น / ความรู้ภาษีเงินได้นิติบุคคล (เน้น การเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ และมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65ตรี(ภาคทฤษฎี)) / ความรู้เกี่ยวกับรายจ่ายต้องห้ามและภาษีซื้อต้องห้าม ความแตกต่างระหว่างเช่าซื้อ ลิสซิ่ง (เน้นรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน) รวมทั้งการบันทึกบัญชีที่ถูกต้อง และทางด้านภาษี / ความรู้ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีบุคคลธรรมดา ที่ผู้ทำบัญชีควรทราบ / ความรู้ภาษีธุรกิจเฉพาะ (เน้นดอกเบี้ยรับ สำหรับกิจการกระทำการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์) การนำเสนองบการเงินต่อผู้บริหาร และการวิเคราะห์งบการเงินเบื้องต้น(เชิงบริหาร) คุณธรรม จริยธรรม หรือจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ
อบรมปิดงบการเงิน (ภาคปฎิบัติ)
การปิดงบการเงิน (ภาคปฏิบัติ) (Complete Accounting Program) สำหรับธุรกิจ (ซื้อมา ขายไป)
เพื่อเป็นนักบัญชีมืออาชีพ
|